เว็บบล็อกสนับสนุนการเรียนรู้ วิชาภาษาไทย อ.วาสนา ดอนจันทร์ทอง

วันพุธที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2556

งานทดสอบ ชิ้นที่ 1 "ออกแบบเอกสารนำเสนอหลักสูตรของสาขาวิชาภาษาญี่ปุ่นธุรกิจ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2555"

หลักการออกแบบตามหลัก 3ส. (สืบค้น,สมมติฐาน,สรุป) 

  • รายละหลักสูตรของสาขาวิชาภาษาญี่ปุ่นธุรกิจ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2555"
  • ลักษณะของไฟล์เอกสารที่ได้มา เป็นไฟล์นามสกุล .xlsx (.xlsx คือ ไฟล์เอกสารของโปรแกรม Microsoft Excel 2007 หรือ เวอร์ชั่นที่สูงกว่า ซึ่งไฟล์นามสกุล .xlsx นี้ไม่สามารถเปิดใน Microsoft Excel เวอร์ชั่นที่ต่ำกว่าเวอร์ชั่น 2007 อย่าง Microsoft Excel 2003 ได้ แต่หากต้องการให้โปรแกรม Microsoft Excel 2003 นั้นสามารถเปิดไฟล์ .xlsx ได้ ก็ต้องลงโปรแกรมเสริม ชื่อโปรแกรม Microsoft Office Compatibility Pack for Word, Excel, and PowerPoint 2007 File Formats ซึ่งโปรแกรมตัวนี้จะทำให้ Microsoft Excel 2003 ทำงานได้เสมือน เป็นเวอร์ชั่น 2007 นอกจากนี้แล้วโปรแกรมนี้ยังสามารถทำให้ Microsoft office 2003 สามารถเปิดไฟล์ .docx และ .pptx ได้ด้วย   ข้อมูลอ้างอิง http://office.microsoft.com )
รูปที่ 1 ไฟล์เอกสารที่ได้มานามสกุล .xlsx

  • ตราประจำมหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม
รูปที่ 2 ตรามหาวิทยาลัย
  • สีประจำคณะ : สีชมพู
  • สัญลักษณ์ของ "ญี่ปุ่น"

รูปที่ 3 ธงชาติญี่ปุ่น,พัด,ปราสาทมะสึโม๊ะโตะ



รูปที่ 4 ดอกซากุระ


  ออกแบบปกหน้าและปกหลัง



รูปที่ 5 ปกหน้า - หลัง ของโครงสร้างหลักสูตร


ออกแบบรูปแบบของเนื้อหา


 
  
  

รูปที่ 5 รูปแบบเนื้อหาของโครงสร้างหลักสูตร หน้า 1 - 4






วันพฤหัสบดีที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2556

การเรียนสัปดาห์ที่ 1 : ความหมายของ "เทคโนโลยี" และ "ออกแบบนิเทศศิลป์"

ความหมายของคำว่า "เทคโนโลยี"

ไฟล์:Asimo walk.jpg
ภาพที่ 1 ผลผลิตของเทคโนโลยี
  • ความหมายโดย วิกิพิเดีย 
     " การนำความรู้ทางธรรมชาติวิทยาและต่อเนื่องมาถึงวิทยาศาสตร์ มาเป็นวิธีการปฏิบัติและประยุกต์ใช้เพื่อช่วยในการทำงานหรือแก้ปัญหาต่าง ๆ อันก่อให้เกิดวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร แม้กระทั่งองค์ความรู้นามธรรมเช่น ระบบหรือกระบวนการต่าง ๆ เพื่อให้การดำรงชีวิตของมนุษย์ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น "
     เทคโนโลยีก่อเกิดผลกระทบต่อสังคมและในพื้นที่ที่มีเทคโนโลยีเข้าไปเกี่ยวข้องในหลายรูปแบบ เทคโนโลยีได้ช่วยให้สังคมหลาย ๆ แห่งเกิดการพัฒนาทางเศรษฐกิจมากขึ้นซึ่งรวมทั้งเศรษฐกิจโลกในปัจจุบัน ในหลาย ๆ ขั้นตอนของการผลิตโดยใช้เทคโนโลยีได้ก่อให้ผลผลิตที่ไม่ต้องการ หรือเรียกว่ามลภาวะ เกิดการสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติและเป็นการทำลายสิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีหลาย ๆ อย่างที่ถูกนำมาใช้มีผลต่อค่านิยมและวัฒนธรรมของสังคม เมื่อมีเทคโนโลยีใหม่ ๆ เกิดขึ้นก็มักจะถูกตั้งคำถามทางจริยธรรม 
ที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B9%82%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%A2%E0%B8%B5
  • ความหมายโดย OK nation
     "สิ่งที่มนุษย์พัฒนาขึ้น เพื่อช่วยในการทำงานหรือแก้ปัญหาต่าง ๆ เข่น อุปกรณ์, เครื่องมือ, เครื่องจักร, วัสดุ หรือ แม้กระทั่งที่ไม่ได้เป็นสิ่งของที่จับต้องได้ เช่น กระบวนการต่าง ๆ"
      เทคโนโลยี เป็นการประยุกต์ นำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ และก่อให้เกิดประโยชน์ ในทางปฏิบัติ แก่มวลมนุษย์กล่าวคือเทคโนโลยีเป็นการนำเอาความรู้ ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในการประดิษฐ์สิ่งของต่าง ๆให้เกิดประโยชน์สูงสุด ส่วนที่เป็นข้อแตกต่างอย่างหนึ่งของเทคโนโลยี กับวิทยาศาสตร์ คือเทคโนโลยีจะขึ้นอยู่กับปัจจัย ทางเศรษฐกิจเป็นสินค้ามีการซื้อขาย ส่วนความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เป็นสมบัติส่วนรวมของ ชาวโลกมีการเผยแพร่โดยไม่มีการซื้อขายแต่อย่างใดกล่าวโดยสรุปคือ เทคโนโลยีสมัยใหม่เกิดขึ้นโดยมีความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นฐานรองรับ
ลักษณะของเทคโนโลยี สามารถจำแนกออกได้เป็น 3 ลักษณะ คือ 
     1. เทคโนโลยีในลักษณะของกระบวนการ ( process) เป็นการใช้อย่างเป็นระบบของวิธีการทางวิทยาศาสตร์หรือความรู้ต่างๆที่ได้รวบรวมไว้ เพื่อนำไปสู่ผลในทางปฏิบัติ โดยเชื่อว่าเป็นกระบวนการที่เชื่อถือได้และนำไปสู่การแก้ปัญหาต่าง ๆ
     2.เทคโนโลยีในลักษณะของผลผลิต (product) หมายถึง วัสดุและอุปกรณ์ที่เป็นผลมาจากการใช้กระบวนการทางเทคโนโลยี
   3.เทคโนโลยีในลักษณะผสมของกระบวนการและผลผลิต (process and product) เช่น ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งมีการทำงานเป็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวเครื่องกับโปรแกรม เทคโนโลยีชีวภาพ
ที่มา :  http://www.oknation.net/blog/kang1989/2008/06/30/entry-3
  • ความหมายโดย เวบของ พงศ์ศักดิ์ สังขภิญโญ
     คำว่า เทคโนโลยี ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า "Technology" ซึ่งมาจากภาษากรีกว่า "Technologia" แปลว่า การกระทำที่มีระบบ อย่างไรก็ตามคำว่า เทคโนโลยี มักนิยมใช้ควบคู่กับคำว่า วิทยาศาสตร์ โดยเรียกรวม ๆ ว่า "วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี" ซึ่งพจนานุกรมฉบับ ราชบัณฑิตยสถาน (2539 : 406) ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยี คือ วิทยาการที่เกี่ยวกับศิลปะในการนำเอาวิทยาศาสตร์ประยุกต์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม นอกจากนั้นยังมีผู้ให้ความหมายของเทคโนโลยีไว้หลากหลาย ดังนี้ คือ
      ผดุงยศ ดวงมาลา (2523 : 16) ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยีว่าปัจจุบันมีความหมายกว้างกว่ารากศัพท์เดิม คือ หมายถึงกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเครื่องจักรกล สิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ทาง อุตสาหกรรม ถ้าในแง่ของความรู้ เทคโนโลยีจะหมายถึง ความรู้หรือศาสตร์ที่เกี่ยวกับเทคนิคการผลิตในอุตสาหกรรม และกิจกรรมอื่น ๆ ที่จะเอื้ออำนวยต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ หรืออาจสรุปว่า เทคโนโลยี คือ ความรู้ที่มนุษย์ใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์แก่มนุษย์เอง ทั้งในแง่ความเป็นอยู่และการควบคุมสิ่งแวดล้อม
      สิปปนนท์ เกตุทัต (ม.ป.ป. 81) อธิบายว่า เทคโนโลยี คือ การนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และศาสตร์อื่น ๆ มาผสมผสานประยุกต์ เพื่อสนองเป้าหมายเฉพาะตามความต้องการของมนุษย์ด้วยการนำทรัพยากรต่าง ๆ มาใช้ในการผลิตและจำหน่ายให้ต่อเนื่องตลอดทั้งกระบวนการ เทคโนโลยีจึงมักจะมีคุณประโยชน์และเหมาะสมเฉพาะเวลาและสถานที่ และหากเทคโนโลยีนั้นสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรม และสภาพแวดล้อม เทคโนโลยีนั้นจะเกื้อกูลเป็นประโยชน์ทั้งต่อบุคคลและส่วนรวม หากไม่สอดคล้องเทคโนโลยี นั้น ๆ จะก่อให้เกิดปัญหาตามมามหาศาล
      ธรรมนูญ โรจนะบุรานนท์ (2531 : 170) กล่าวว่า เทคโนโลยี คือ ความรู้วิชาการรวมกับความรู้วิธีการ และความชำนาญที่สามารถนำไปปฏิบัติภารกิจให้มีประสิทธิภาพสูง โดยปกติเทคโนโลยีนั้นมีความรู้วิทยาศาสตร์รวมอยู่ด้วย นั้นคือวิทยาศาสตร์เป็นความรู้ เทคโนโลยีเป็นการนำความรู้ไปใช้ในทางปฏิบัติ จึงมักนิยมใช้สองคำด้วยกัน คือ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อเน้นให้เข้าใจว่า ทั้งสองอย่างนี้ต้องควบคู่กันไปจึงจะมีประสิทธิภาพสูง
       ชำนาญ เชาวกีรติพงศ์ (2534 : 5) ได้ให้ความหมายสั้น ๆ ว่า เทคโนโลยี หมายถึง วิชาที่ว่าด้วยการประกอบวัตถุเป็นอุตสาหกรรม หรือวิชาช่างอุตสาหกรรม หรือการนำเอาวิทยาศาสตร์มาใช้ในทางปฏิบัติจากการที่มีผู้ให้ความหมายของเทคโนโลยีไว้หลากหลาย สรุปได้ว่า เทคโนโลยี หมายถึง วิชาที่นำเอาวิทยาการทางวิทยาศาสตร์และศาสตร์อื่น ๆ มาประยุกต์ใช้ตามความต้องการของมนุษย์ เช่น โรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงกล่าวถึงความหมายของเทคโนโลยีเป็นภาษาง่าย ๆ ว่า หมายถึง การรู้จักนำมาทำให้เป็นประโยชน์นั่นเอง (เย็นใจ เลาหวณิช. 2530 : 67)

        ที่มา : http://www.rmutphysics.com/charud/specialnews/6/science/unit4_2.html


สรุปความหมายของ "เทคโนโลยี"
         การที่มนุษย์ นำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาพัฒนา ประยุกต์ โดยผ่านการกระทำที่มีระบบ มีวิธีการ และความชำนาญ เพื่อประดิษฐ์สิ่งของต่างๆ ที่มีประโยชน์สูงสุด มาอำนวยความสะดวกให้กับความต้องการของมนุษย์ "

___________________________________________________


ความหมายของคำว่า "ออกแบบนิเทศศิลป์"

  • ความหมายโดยบล็อกของวิชัยคอนโดมิเนียม

ความหมายของ "นิเทศศิลป์"         
        คำว่า นิเทศศิลป์ (Visual Communication Art) มาจากคำ ในภาษาสันสกฤต จำนวนสองคำมาสมาสกัน คือ นิเทศ+ศิลป์ หากจะแปลตามศัพท์ จากพจนานุกรม ก็จะแปลได้ดังนี้
นิเทศ (นิรเทศ,นิทเทศ)น.คำแสดงคำจำแนกออก,ก.ชี้แจง,แสดง,จำแนก,นำเสน                  
ศิลป์์ (ศิลปะ) น.ฝีมือทางการช่าง ,การแสดงออกซึ่งอารมณ์ ให้ประจักษ์ ดังใจนึกเมื่อนำมารวมกันก็อาจได้ความหมายดังนี้
นิเทศศิลป์ หมายถึง งานศิลปะเพื่อการชี้แจงแสดง การนำเสนอให้ปรากฎ ในรูปแบบต่างๆ ผ่านการมองเห็นเป็นสำคัญ เพื่อให้เข้าใจชัดเจนขึ้นควรพิจารณาจากรากศํพท์เดิมมาจาก ภาษาอังกฤษ คือ Visual CommunicationArt 
Visual แปลว่า การมองเห็น         
Communication แปลว่า การสื่อสาร มาจากคำว่า communis หรือ commones ซึ่งแปลว่า ร่วมกัน หรือเหมือนกัน
          นั่นคือ การสื่อสาร มุ่งที่จะให้ความคิด ความเข้าใจของผู้อื่น ให้เหมือนกับ ความคิด ความเข้าใจของเรา หรือทำอย่างไรจึงจะ เอาความรู้สึกนึกคิด ของผู้อื่น ได้โดยให้มีความรู้สึกนึกคิด เช่นเดียวกับเราได้เพราะ ธรรมชาติมนุษย์ได้รับ ข่าวสาร อย่างเดียวกันมา แต่จะมีความเข้าใจ และความรู้สึกนึกคิด แตกต่างกันออกไป การสื่อสาร ที่ดีก็ต้องมีการวางแผน ในที่น Communication Art ก็อาจแปลได้ว่า ศิลปะ ที่ใช้ในการสื่อสารร่วมกัน ระหว่างบุคคลในสังคมโดยผ่านการมองเห็น เป็นสำคัญ บุคคลที่รวมกันอยู่ในสังคมย่อมต้องมีการติดต่อสื่อสาร กันตลอดเวลา ทำให้ทุกวันนี้ งานนิเทศศิลป์ ได้เข้ามามีบทบาท ต่อชีวิตประจำวัน ในสังคมมากขึ้นและ หากดูขอบข่าย และโครงสร้าง ของงานนิเทศศิลป์แล้ว ก็จะเห็นชัดเจนว่า นิเทศศิลป์มีความสำคัญ ต่อการดำเนินชีวิตของผู้คนในสังคมปัจจุบัน นอกเหนือจากปัจจัยอื่นของชีวิต ที่มีอยู่เดิม

ภาพที่ 2 กระบวนการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลที่มีชื่อย่อว่า S M C R 
งานนิเทศศิลป์ จะเกี่ยวข้องกับ สาร (Message) และ ช่องทาง (Channel)

โดยการใช้ศิลปะเพื่อพัฒนาสาร” และเลือกช่องทาง” หรือสื่อที่เหมาะสม

          งานออกแบบนิเทศศิลป์ (Visual Communication Art) นอกจาก จะเกี่ยวข้องกับการสื่อสารแล้ว ยังต้องเกี่ยวข้อง กับวิชาการสาขาต่าง ๆ อีกก็คือ จิตวิทยา ธุรกิจเทคโนโลยี กระบวนการสร้างสรรค์ และศิลปะ ดังโครงสร้างต่อไปนี้
                         องค์ประกอบของการออกแบบนิเทศศิลป์ จากโครงสร้างจะเห็นว่า ศิลปะ เเป็นวิชาการสาขาหนึ่ง ของงาน ออกแบบนิเทศศิลป์ เป็นสาขาที่สำคัที่จะ ขาดเสียมิได้ และศิลปะในที่นี้ คือ ทัศนศิลป์ เพราะ นิเทศศิลป์เป็น การคิด และการสื่อสารด้วยภาพ จากจินตนาการ หรือจากภาพภายในความคิด ออกมาสู่การรับรู้ของบุคคล ผู้รับสาร โดยผ่านทางจักษุประสาทเป็นสำคัญ และการสร้างงานศิลปะ จะเป็นการรวม เอาความคิดรวบยอดจาก สาขาวิชาการอื่น ๆ ตามโครงสร้างดังกล่าวมาเป็นส่วนหนึ่งของกรสร้างสรรค์ ดังเสนอโดยผัง ต่อไปนี้ 
ภาพที่ 3 กระบวนการคิด เพื่อสื่อสารด้วยทัศนศิลป์ 
ภาพที่ 4 งานออกแบบนิเทศศิลป์
                    โครงสร้างและขอบข่ายของนิเทศศิลป์  ดังกล่าวแล้วว่า นิเทศศิลป์ เป็นศิลปะที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสาร ทางการมองเห็น (Visual Communication) เพราะเป็นการสื่อสาร ไปยังผู้รับสารด้วยภาพเป็นสำคัญ (Visual Image) แม้จะมี บางองค์ประกอบจะมีการสื่อสารทางเสียง มาประกอบก็ตาม แต่สื่อหลัก ก็ยังเป็นการ สื่อสารด้วยภาพ โดยเสียงเป็นตัวเสริมให้ภาพนั้นสมบูรณ์ขึ้น ทั้งนี้เพราะการรับรู้ของ มนุษย์เรานั้น รับรู้จาก จักษุประสาทมากที่สุด (รับรู้ทางตา 83% หู11%) 
        ที่มา : http://kailyart-1.blogspot.com/ 

  • ความหมายโดย อ.สมิทธ์ิ บุญชุติมา (2552)
     คำว่า “นิเทศ” นั้นมาจากคำว่า “นิเทศศาสตร์” ซึ่งหมายถึงวิชาการที่ว่าด้วยการสื่อสารมวลชนและประชาสัมพันธ์ เมื่อรวมกับคำว่า “ศิลป์ ” และคำว่า “ออกแบบ” จึงได้ความหมายของ “การออกแบบนิเทศศิลป์ ” ว่า การออกแบบทางศิลปะที่เกี่ยวกับการสื่อสาร การออกแบบสื่อที่จะใช้ในการสื่อสาร และการสร้างสรรค์รูปแบบการสื่อสารอย่างมีศิลปะ (ฉลอง สุนทรนนท์, 2547)
ประเภทของการออกแบบนิเทศศิลป์
1. การออกแบบตัวอักษร (Lettering Design)
2. การออกแบบสิ่งพิมพ์ (Printing Design)
3. การออกแบบเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ (Logo)
4. การออกแบบโฆษณา (Advertising Design)
5. การออกแบบลวดลาย (Decorative Design)
6. การออกแบบผลิตภัณฑ์ (Product Design)
ที่มา : www.commarts.chula.ac.th/elearning/week_3/nitedsil.pdf

  •  ความหมายโดย  onizuka_arai 
          นิเทศศิลป์ (communication arts) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า นิเทศ (com arts) อีกนัยนึงก็คือ "การออกแบบเพื่อการสื่อสาร" นั่นเอง หรือจะเรียกว่า "พาณิชย์ศิลป์" ซึ่งในที่นี่ ขออ้างอิงจากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ภาควิชานิเทศศิลป์ของที่นี่ จะอยู่ในคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์  ภาควิชานิเทศศิลป์ของลาดกระบัง จะแบ่งสาขาออกเป็น 3 สาขา คือ

              1 ภาควิชานิเทศศิลป์ สาขาวิชานิเทศศิลป์  (นิเทศ)  (Bachelor of Fine and Applied Arts Program in Communication Design )สาขานี้จะเน้นไปทางออกแบบกราฟฟิคดีไซค์ ออกแบสื่อสิ่งพิมพ์ ออกแบบAD เช่น วิชา การออกแบบสิ่งพิมพ์ (PUBLICATION DESIGN) , การออกแบบบรรจุผลิตภัณฑ์( PACKAGING DESIGN) , การออกแบบตัวอักษร(TYPOGRAPHIC DESIGN) , การออกแบบโฆษณา(ADVERTISING DESIGN ) 
               2 ภาควิชานิเทศศิลป์ สาขาวิชาภาพยนต์และวิดีโอ (ฟิล์ม) (Bachelor of Fine and Applied Arts Program in Film and Video ) สาขานี้ก้อจะเรียนเกี่ยวกับการผลิตภาพยนตร์ ทุกกระบวนการเลย ไม่ว่าจะเป็นการเขียนบทภาพยนตร์ , การถ่ายทำภาพยนตร์ , การกำกับภาพยนตร์ การเขียน story board การตัดต่อภาพยนต์ การจัดแสง มุมกล้อง ภาพยนต์ที่ว่านี้รวมถึง การทำแอนนิเมชั่นและภาพเคลื่อนไหว มิวสิกวีดีโอ 

              3 ภาควิชานิเทศศิลป์ สาขาวิชาการถ่ายภาพ (โฟโต้) (Bachelor of Fine and Applied Arts Program in Photography) สาขานี้ก้อเรียนเกี่ยวกับการถ่ายภาพ พื้นฐานการถ่ายภาพ การถ่ายภาพประเภทต่างๆ เช่น การจัดแสง(LIGHTING FOR PHOTOGRAPHY ) , ภาพถ่ายบุคคล (PEOPLE PHOTOGRAPHY) , ภาพถ่ายหุ่นนิ่ง(STILL LIFE PHOTOGRAPHY ) 
ที่มา : http://www.architectspace.net/forum/index.php?topic=73.0

สรุปความหมายของ "ออกแบบนิเทศศิลป์"
          " การสร้างสรรค์ผลงานด้านการสื่อสารต่างๆ ด้วยความสามารถเชิงศิลป์ เพื่อให้ผู้รับสารเข้าใจถึงความคิดและสิ่งที่ผู้ส่งสารต้องการนำเสนอ โดยผ่านกระบวนการทางความคิดอย่างมีระบบ "

สรุปความหมายของ "เทคโนโลยีออกแบบนิเทศศิลป์"
        " การที่มนุษย์ นำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาพัฒนา ประยุกต์ใช้ โดยผ่านการกระทำที่มีระบบ มีวิธีการ และความชำนาญ เพื่อสร้างสรรค์ผลงานด้านการสื่อสารต่างๆ ด้วยความสามารถเชิงศิลป์ เพื่อให้ผู้รับสารเข้าใจถึงความคิดและสิ่งที่ผู้ส่งสารต้องการนำเสนอ  "


เรียบเรียงข้อมูล/สรุป  : นางสาวภรูรอง กตัญญตานุรักษ์