เว็บบล็อกสนับสนุนการเรียนรู้ วิชาภาษาไทย อ.วาสนา ดอนจันทร์ทอง

วันพุธที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2556

แนะนำ Software

Ginger Software
Ginger ที่แปลว่าขิง แต่ขิงนี้เปฺ็นชื่อโปรแกรมที่ใช้ครวจสอบการเขียนบทความภาษาอังกฤษ แรงดีจนติดอันดับหนึ่งในสี่โปรแกรมยอดนิยมที่ใช้ตรวจสอบการเขียนภาษาอังกฤษ บางคนอาจเลือกใช้ Grammarly, Whitesmoke และ Spellcheckplus เป็นต้น สำหรับคนไหนที่อยากอ่านบทความเกี่ยวกับโปรแกรมที่ช่วยตรวจไวยากรณ์ภาษาอังกฤษก็ลองไปอ่านดูตาม Web ข้างล่างนี้ แต่ราคาค่อนข้างสูง



แต่ข้อดีของ Ginger คือมีบริการ web-based ฟรีแล้วบอกแนวทางการแก้ไขไวยากรณ์ภาษาอังกฤษให้ด้วย จนผู้เขียนนำเรื่องขิงมาชง เอ้ยไม่ใช่มาเขียนแบ่งปันว่ามีวิธีการใช้งานอย่างไร นอกจากนั้นแล้วช่วยให้คนที่จำเป็นต้องเขียนภาษาอังกฤษตระหนักถึงปัญหาเบื้องต้นเมื่อต้องเขียนงานออกมาเป็นภาษาอังกฤษ แต่อย่าลืมว่า web-based พวกนี้ไม่สามารถตรวจสอบได้ร 100% แต่ช่วยทำให้เราตระหนักว่าเวลาเขียนแล้วมีปัญหาหรือข้อผิดพลาดคืออะไร เพื่อจะได้ระมัดระวังการเขียนภาษาอังกฤษมากขึ้น 



























สำหรับการตรวจสอบบทความนั้นก่อนอื่นเลยต้องไปที่ web site ตามที่อยู่ข้างล่างนี้ http://www.gingersoftware.com/grammarcheck/

วิธีการใช้เราสามารถ copy file ที่เราต้องการตรวจสอบจาก word หรือ พิมพ์ลงในกล่องข้อความด้านบนได้เลย แต่ไม่ควรใส่ graphics รูปภาพ หรือตารางลงไป เนื่องจาก web-based จะไม่สามารถตรวจสอบได้ หลังจากนั้นกดปุ่มขิง ตามวงกลมสีแดงดังภาพที่ปรากฎอยู่


Anti-Kobpae

Anti-Kobpae คือ เว็บไซต์ตรวจสอบความคล้ายกันของเอกสารในรูปแบบอิเลคทรอนิกส์ทั้งภาษาไทยและอังกฤษ โดยนำเอกสารที่ต้องการตรวจสอบนี้มาเปรียบเทียบกับในคลังข้อมูล และทางออนไลน์บนอินเตอร์เน็ต โดยระบบนี้จะใช้เทคนิค Sliding Window เพื่อช่วยแก้ปัญหาในกรณี นักคัดลอกจะหาวิธีหลบหลีกการตรวจสอบด้วยการเพิ่มหรือลบคำบางส่วนในเนื้อหา สลับประโยคต่างๆ ระบบก็ยังสามารถตรวจสอบได้

วันอังคารที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2556

CMS คืออะไร

CMS : Content management system


ระบบจัดการเนื้อหา CMS  คือระบบซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ที่ใช้เพื่อจัดระเบียบ และส่งเสริมการทำงานในหมู่คณะ ให้สามารถสร้างเอกสาร หรือเนื้อหาสาระอื่นๆ โดยมากแล้วระบบจัดการเนื้อหา มักจะเป็นเว็บแอปพลิเคชัน ซึ่งใช้จัดการเว็บไซต์และเนื้อหาบนเว็บ และมีไม่น้อยที่ระบบจัดการเนื้อหาต้องใช้ซอฟต์แวร์พิเศษบนเครื่องเครื่องลูกข่าย เพื่อใช้แก้ไขและสร้างบทความต่างๆ

ระบบจัดการเนื้อหา CMS ในตลาดซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์มีทั้งแบบที่ทำเพื่อการค้าและแบบ โอเพนซอร์สเนื้อหาที่อยู่บนระบบอาจจะเป็นเนื้อหาที่เป็น ข้อความตัวอักษร ไฟล์รูปภาพ ไฟล์เสียง ไฟล์ภาพเคลื่อนไหว ไฟล์วิดีโอ หรือไฟล์เอกสารอื่นๆ ก็ได้

ที่มา : วิกิพีเดีย
ภาพที่ 1 อธิบายความหมายของ CMS

โดยส่วนใหญ่แล้ว มักจะนำเอา ภาษาสคริปต์(Script Languages) ต่างๆมาใช้ เพื่อให้วิธีการทำงานเป็นแบบอัตโนมัติ ไม่ว่าจะเป็น PHP, Perl, ASP, Python หรือภาษาอื่นๆ(แล้วแต่ความถนัดของผู้พัฒนา) ซึ่งมักต้องใช้ควบคู่กันกับโปรแกรมเว็บเซิร์ฟเวอร์(เช่น Apache) และดาต้าเบสเซิร์ฟเวอร์(เช่น MySQL)ลักษณะเด่นของ CMS ก็คือ มีส่วนของ Administration Panel(เมนูผู้ควบคุมระบบ) ที่ใช้ในการบริหารจัดการส่วนการทำงานต่างๆในเว็บไซต์ ทำให้สามารถบริหารจัดการเนื้อหาได้อย่างรวดเร็ว และเน้นที่การ จัดการระบบผ่านเว็บ(Web Interface) ในลักษณะรูปแบบของ ระบบเว็บทำ(Portal Systems)

โดย ตัวอย่างของฟังก์ชันการทำงาน ได้แก่ การนำเสนอบทความ(Articles), เว็บไดเรคทอรี(Web Directory), เผยแพร่ข่าวสารต่างๆ(News), หัวข้อข่าว(Headline), รายงานสภาพดินฟ้าอากาศ(Weather), ข้อมูลข่าวสารที่น่าสนใจ(Informations), ถาม/ตอบปัญหา(FAQs), ห้องสนทนา(Chat), กระดานข่าว(Forums), การจัดการไฟล์ในส่วนดาวน์โหลด(Downloads), แบบสอบถาม(Polls), ข้อมูลสถิติต่างๆ(Statistics) และส่วนอื่นๆอีกมากมาย ที่สามารถเพิ่มเติม ดัดแปลง แก้ไขแล้วประยุกต์นำมาใช้งานให้เหมาะสมตามแต่รูปแบบและประเภทของเว็บไซต์นั้นๆ


วันพุธที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2556

การนำแบบสำรวจของ Google มาใช้กับบล็อก

สำหรับคนที่มีบัญชีของ Google แล้ว นอกจากใช้ส่งเมล์ และสร้างเว็บบล็อกได้แล้ว Google ยังมีแบบฟอร์มสำหรับทำแบบสำรวจให้อีกด้วย


ขั้นตอนการสร้างแบบสำรวจ


1. เข้าใช้ Google ที่ URL https://www.google.co.th/ (หมายเลข1) แล้วเลือกใช้บริการเพื่อจะสร้างแบบฟอร์มที่ Google Drive (หมายเลข2)
2. เลือกสร้างงานของเราที่ (หมายเลข3) เลือกสร้างเอกสารที่ (หมายเลข4)



3. ถ้าเป็นการสร้างแบบฟอร์มใหม่หน้าแรกของแบบฟอร์มจะให้เลือกรูปแบบของแบบ

ฟอร์ม(หมายเลข6) เมื่อเลือกแล้วก็ตั้งชื่อแบบฟอร์มของเรา (หมายเลข5) เสร็จแล้วเลือก 

(หมายเลข7)



4. สร้างหัวข้อคำถามที่เราต้องการ

- หัวข้อคำถาม (หมายเลข8)

- เพิ่มคำบรรยายเพิ่มเติมเกี่ยวกับหัวข้อคำถามของเราได้ (หมายเลข9)

- เลือกลักษณะของคำตอบ (หมายเลข10)

- เลือกให้คำถามของเราเป็นการบังคับตอบหรือไม่ได้ (หมายเลข11)




5. การตั้งค่าลักษณะของตัวเลือกแบบ “หลายตัวเลือก” (หมายเลข12)

- เลือกประเภทของคำถามเป็นแบบหลายตัวเลือก (หมายเลข12.1)

- ใส่ข้อความของตัวเลือกที่ต้องการ (หมายเลข12.2)

- เพิ่มตัวเลือกของคำตอบ (หมายเลข12.3)

- เพิ่มตัวเลือกของคำตอบ เป็นแบบ “อื่นๆ” (หมายเลข12.4)


เมื่อเสร็จสิ้นแล้วเราจะได้แบบสอบถามแบบหลายตัวเลือกเหมือนในภาพ (หมายเลข12.5)




6. การตั้งค่าลักษณะของตัวเลือกแบบ “เลือกจากรายการ” (หมายเลข13)

- เลือกประเภทของคำถามเป็นแบบเลือกจากรายการ (หมายเลข13.1)

- เพิ่มตัวเลือกของคำตอบแล้วใส่ข้อความของตัวเลือกที่ต้องการ (หมายเลข13.2)

เมื่อเสร็จสิ้นแล้วเราจะได้แบบสอบถามแบบเลือกจากรายการเหมือนในภาพ (หมายเลข13.3)





7. การตั้งค่าลักษณะของตัวเลือกแบบ “สเกล” (หมายเลข14)

- เลือกประเภทของคำถามเป็นแบบสเกล (หมายเลข14.1)

- เลือกช่วงของสเกล (หมายเลข14.2)

- เพิ่มข้อความที่เป็นความหมายของสเกล (หมายเลข14.3)

เมื่อเสร็จสิ้นแล้วเราจะได้แบบสอบถามแบบสเกลเหมือนในภาพ (หมายเลข14.4)




8. การตั้งค่าลักษณะของตัวเลือกแบบ “ข้อความ” (หมายเลข15)

- เลือกประเภทของคำถามเป็นแบบข้อความ (หมายเลข15.1)

เมื่อเสร็จสิ้นแล้วเราจะได้แบบสอบถามแบบเลือกจากรายการเหมือนในภาพ (หมายเลข15.2)


9. เราสามารถเพิ่มหัวข้อคำถามได้ด้วยการเลือกเพิ่มรายการ (หมายเลข16) 

- หากต้องการแก้ไขหัวข้อคำถามที่ทำไว้แล้วเลือกที่ (หมายเลข17) 

- หากต้องการสร้างสำเนาเลือกที่ (หมายเลข18)

- หากต้องการลบหัวข้อคำถามเลือกที่ (หมายเลข19)



ขั้นตอนการนำแบบสำรวจไปใช้กับเว็บบล็อก

ในการนำแบบฟอร์มของแบบสอบถามที่เราสร้างขึ้นมาไปใส่ไว้ในเว็บบล็อก เราจะต้องใช้ชุดคำสั่ง 

(Embed Code) ไปวางไว้ใสส่วนของ HTML ของเว็บบล็อก โดยมีวิธีดังนี้


1. เลือกที่ไฟล์ (หมายเลข1)

2. เลือกที่ฝัง (หมายเลข2)

3. ตั้งค่าขนาดความกว้างของแบบฟอร์ม (หมายเลข3)

4. คัดลอกชุดคำสั่งเพื่อนำชุดคำสั่งนี้ไปใช้กับบล็อก (หมายเลข4)

5. เปิดหน้าเว็บบล็อกของเราขึ้นมา 


6. เข้าไปที่หน้าของการออกแบบ

7. สร้างหน้าเพจใหม่สำหรับแบบสอบถามในบล็อกของเรา (หมายเลข5) โดยสร้างหน้าเพจใหม่

ให้เป็นหน้าเว็บเปล่า (หมายเลข6)

8. ในหน้าเพจที่เราสร้างขึ้นมาใหม่เป็นหน้าเปล่านั้น ให้เราตั้งชื่อ (หมายเลข7) ในส่วนของ

เนื้อหาให้เราเลือกเป็นแบบ HTML (หมายเลข8) แล้วนำ Embed Code ที่เราคัดลองไว้

มาวาง (หมายเลข9)

































วันพุธที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การเผยแพร่เอกสารจาก ISSUU มาไว้ในบล็อก

ขั้นตอนการเผยแพร่เอกสารจาก ISSUU มาไว้ในบล็อก

1.ในเวบบล็อกของเราในหน้าของการออกแบบ >> บทความใหม่ จะประกอบไปด้วย 2 ส่วน สำหรับการออกแบบ คือ
1.1.เขียน (หมายเลข1) ในส่วนนี้จะแสดงผลปกติ เราสามารถเพิ่มตัวอักษร รูป แล้วจัดแต่งได้เลยในช่อง (หมายเลข2)
1.2.HTML (หมายเลข3) ในส่วนนี้จะเป็นการใส่หรัสค่ำสั่งต่างๆ เพิ่มเติม ซึ่งเราจะใช้ในส่วนนี้ในการทำเอกสาร ISSUU มาเผยแพร่
ภาพที่ 1 แสดงหน้าการออกแบบบล็อกด้วย HTML
ที่มา : น.ส.ภรูรอง กตัญญตานุรักษ์
2.เข้าไปที่ URL ของ ISSUU ที่ http://issuu.com โดยผ่านการสมัครสมาชิกก่อน (หมายเลข4)
3.เราสามารถ Upload เอกสารของเราเพื่อนำมาเผยแพร่ได้ (หมายเลข 5)
4.เราสามารถสืบค้นเอกสารของผู้อื่นที่น่าสนใจได้ (หมายเลข6)
5.หน้าแรกของ ISSUU จะแสดงเอกสารที่เราได้ Upload เอาไว้แล้วด้วย (หมายเลย7)

ภาพที่ 2 แสดงหน้าแรกของ ISSUU ในสถานะของ Admin
ที่มา : น.ส.ภรูรอง กตัญญตานุรักษ์
6.เมื่อเราเลือกเอกสารที่ต้องการจะเผยแพร่ได้แล้ว สามารถเปิดดู ย่อขยายได้ (หมายเลข8)
7.เมื่อเราเลือกเอกสารที่ต้องการจะเผยแพร่ได้แล้ว สามารถเปิดดู Shere ได้หลายรูปแบบ (หมายเลข9)
8.หากเราต้องการนำเอกสารออนไลน์จาก ISSUU ไปเผยแพร่ จะทำได้ในลักษณะของการแชร์ลิ้งด้วยชุดคำสั่ง (Embed) จะต้องนำชุดคำสั่งจาก ISSUU ไปไว้ที่เว็บบล็อกของเรา (หมายเลข9)

ภาพที่ 3 แสดงหน้าแรกของนิตยสารของ ISSUU
ที่มา : น.ส.ภรูรอง กตัญญตานุรักษ์
9.ก่อนที่เราจะเผยแพร่นิตยสารด้วย Embed เราสามารถตั้งค่าของนิตยสารได้
9.1.แสดงตัวอย่างนิตยสารที่โชว์ในเว็บบล็อก (หมายเลข11)
9.2 แสดงข้อมูลของนิตสาร เช่น Free publishing หมายถึงนิตยสารฟรี (หมายเลข12)
9.3 การตั้งค่าการแสดงผลต่างๆ (หมายเลข13) ประกอบด้วย
Size : การตั้งค่าขนาด สามารถเลือกตามที่มีมาให้หรือ กำหนดเองได้ (หมายเลข13.1)
Page : การตั้งค่าหน้าเริ่มต้น (หมายเลข13.2)
Layout : การตั้งค่าหน้าแสดงผล เลือกเป็น 1 หน้า หรือหน้าคู่ได้ (หมายเลข13.3)
Color : การตั้งค่าสีพื้นหลัง (หมายเลข13.4) หลังจากตั้งค่าเสร็จแล้วก็ Save การจัดรูปแบบไว้ 
10.คัดลอกข้อความในช่อง Embed Code (หมายเลข14) เพื่อนำไปใส่ในบล็อกของเราในหน้าของ HTML (ภาพที่1 หมายเลข 3)


ภาพที่ 4 แสดงหน้าการตั้งค่าของนิตยสารก่อนนำไปเผยแพร่
ที่มา : น.ส.ภรูรอง กตัญญตานุรักษ์

วันอังคารที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2556